จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)

- (www.wijai48.com : 14/06/2554
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 

- (www.sobkroo.com : 24/06/2554)  
นักคิดในกลุ่มนี้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1. กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดคือ เซนต์ออกุสติน จอร์น คาลวิน และ คริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่นี้มีความเชื่อในเรื่อง  มนุษย์เกิดมาพร้อมความชั่ว การกระทำใดๆเกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวของมนุษย์เองและพร้อมที่จะทำชั่วหากไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างถูกวิธี
2. กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญคือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดในกลุ่นี้มีความเชื่อว่า พัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์ มิใช้การดลบันดาลของพระเจ้า โดยมนุษย์เกิดมามีลักษณะที่ไม่ดี ไม่เลว และการกระทำเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน โดยมนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและมีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องได้รับการกระตุ้นจึงจะแสดงความรู้ออกมา

- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 24/06/2554) 
พลาโต (Plato) : การเรียน คือ การทบทวนความรู้เดิม
ในทัศนะของพลาโต ความรู้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ หากเป็นสิ่งที่มีมาก่อนแล้ว (Apriori) ดังนั้น ผู้มีความรู้คือ ผู้ที่จิตของเขาได้สัมผัสกับ “แบบ” ซึ่งเป็นความจริงสูงสุด ส่วนการรับรู้อื่น ๆ เป็นเพียงความเชื่อ หรือความเห็น มิใช่ความรู้
พลาโตเสนอว่า จิตหรือวิญญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ซึ่งเป็นอมตะนั้น คุ้นเคยกับ “แบบ” ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อจิตมาคลุกคลีกับโลกแห่งวัตถุทำให้หลงลืมไป กระบวนการศึกษาเป็นหนทางที่จะทำให้จิตฟื้นความทรงจำได้ การเรียนจึงเป็นการทบทวนสิ่งที่เคยรู้มาแล้ว ครูเป็นเพียงผู้ “ถาม” เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ครูไม่ได้ป้อนหรือให้ความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน
พลาโตไม่เห็นด้วยกับนักปรัชญาโซฟิสต์ (อย่าง โปรตากอรัส) ที่เชื่อว่าความรู้คือประสาทสัมผัสและความเห็นส่วนบุคคล เพราะพลาโตเชื่อว่า ประสาทสัมผัสอาจลวงเราได้ และยังเป็นเพียงเงาหรือมายาภาพของแบบเท่านั้น   
สรุป ความคิดของนักคิดในกลุ่มนี้คือ การกระทำมนุษย์ทุกคนเกิดมาจากแรงกระตุ้นภายใน ซึ่งความรู้ความสามารถต่างๆนั้น สามารถที่จะฝึกฝนได้โดยให้เรียนรู้ในสิ่งๆที่ยากๆ เพื่อฝึกฝนให้จิตนั้นแข็งแกร่ง จะเป็นการกระตุ้นเอาความรู้ที่มีในตัวของมนุษย์ออกมาใช้

ที่มา
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
http://www.sobkroo.com/ : เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น